SMEsAcademy-FB
รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

Bigorexia Syndrome คืออะไร ป้องกันแบบไหนดี

04 กรกฎาคม 2565
Bigorexia Syndrome คืออะไร ป้องกันแบบไหนดี

Bigorexia Syndrome คืออะไร ป้องกันแบบไหนดี

หลายคนอาจจะไม่รู้จักว่า Bigorexia Syndrome หรือ ไบกอร์เร็กเซีย คืออะไร แท้จริงแล้วโรคนี้คือผู้ป่วยที่มีความคิดว่ากายภาพหรือรูปร่างของตัวเองไม่แข็งแรง ไม่ล่ำสัน ไม่มีกล้ามเนื้อมากเพียงพอ แต่ในความเป็นจริงร่างกายของตัวเองปกติ สมส่วนและไม่ได้มีปัญหาอะไร โรคนี้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มคนที่คิดว่ารูปร่างอวัยวะผิดปกติ ( Body Dsymophic Diorder : BDD ) จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ย้ำคิด ย้ำทำ ชอบหมกมุ่นและอคติกับรูปร่างของตนเอง สาเหตุอาจจะเกิดได้หลากหลายรูปแบบจากปมในอดีตตั้งแต่วัยเด็กหรือเป็นส่วนหนึ่งของสารเคมีในสมองบางตัว เรียกได้ว่าพฤติกรรมที่โดนรังแก โดนบูลลี่รูปร่างตั้งแต่วัยเด็กอาจจะส่งผลกระทบหรือเป็นปัจจัยที่กระทบมาจนถึงปัจจุบัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปป้องกัน Bigorexia Syndrome เพื่อเปลี่ยนมุมมองการเริ่มรักษาจากตัวเองก่อน


1. เชิดชูตัวเอง

หลายครั้งพฤติกรรมที่มักหาข้อบกพร่องตัวเองมักเกิดจากการไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองดีอยู่แล้ว ดังนั้นคุณควรเริ่มต้นด้วยการเชิดชูตัวเอง ชื่นชมตัวเองในรูปร่างและจิตวิญญาณที่ดีอยู่แล้วของตัวคุณเอง


2. ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์

หากคุณเคยเห็นตัวเองมาเป็นเวลานาน จากการแต่งตัวเดิมๆ ชุดเดิมๆ ทรงผมเดิมๆ ไลฟ์สไตล์เดิมๆ ลองเปลี่ยนภาพลักษณ์ด้วยเสื้อผ้าและทรงผมใหม่ อาจจะช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองของคุณให้ภาพลักษณ์ดูดีขึ้น ไม่คิดลบต่อร่างกายของตัวเอง


3. เลิกเปรียบเทียบ

เมื่อคุณเห็นรูปร่างตัวเองและไปดูต้นแบบที่ดีกว่ามันอาจจะส่งผลให้คุณเกิดการเปรียบเทียบและเริ่มคิดว่ากายภาพหรือรูปร่างของตัวเองไม่แข็งแรง ไม่มีกล้ามเนื้อหรือมีกล้ามเนื้อมากเกินไป คุณต้องเลิกเปรียบเทียบและพอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น ยิ้มรับกับรูปร่างที่สมส่วนและปกติของตัวเอง การเลิกเปรียบเทียบอาจจะช่วยให้คุณฟื้นฟูสภาพจิตใจได้เร็วขึ้น


4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายจะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ทั้งยังฝึกสมาธิและจิตใจไม่ให้โฟกัสเรื่องไม่ดีจนเกินไป คุณต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและยอมรับรูปร่างหรือสัดส่วนที่คุณเป็น หันไปโฟกัสที่เรื่องออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงก็อาจจะช่วยได้ให้คุณไม่โฟกัสรูปร่างที่ผิดส่วนประกอบในแบบที่คุณคิดไปเอง


5. หางานอดิเรกที่ไม่โฟกัส

คุณต้องหัดฝึกความคิด หากคุณเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะคิดเรื่องรูปร่างต้องหันไปสนใจทำอย่างอื่นเพื่อไม่ให้โฟกัส เช่น ไปหางานอดิเรกที่เป็นเป้าหมายอื่นแทน เป็นการเบี่ยงประเด็นและไม่ให้ความสนใจ


ทั้งนี้ทั้งนั้น Bigorexia Syndrome จำเป็นต้องปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อบำบัดจิตและใช้ยาเคมีบำบัดควบคู่รวมทั้งต้องให้แพทย์เป็นคนสั่งยาและแนะนำ ถึงแม้โรคนี้จะยังมีน้อยเพียงแค่ 1-2% ในสหรัฐอเมริกา ก็ไม่ควรมองข้ามเพราะหากผู้มีอาการ เป็นแล้วหาย สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและความคิดของคุณให้ไม่กลับมาเป็นซ้ำเพื่อสุขภาพจิตที่ดีในระยะยาว


ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.haijai.com/3461/


By : ArMs


บทความที่คล้ายกัน