ส่องการตลาดของสายการบินหลังโควิด
ตลอดระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าวงการสายการบินและท่าอากาศยานได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากต้องปิดประเทศและงดนักท่องเที่ยวบินเข้าออกประเทศ ภายหลังเริ่มมีการลดหย่อนมาตรการให้บินในประเทศได้แต่ต้องทำตามกฏระเบียบที่วางไว้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปส่องการตลาดของสายการบินหลังโควิดทั้งในประเทศและต่างประเทศว่าแต่ละสายการบินดึงการตลาดอะไรมาใช้กันบ้างเพื่อให้อยู่ในรอดในสถานการณ์แบบนี้
การตลาดสายการบินในประเทศ
- การตลาดตั๋วบุฟเฟ่ต์ : มีให้เห็นและเป็นกระแสอยู่ไม่น้อยกับการใช้การตลาดแบบตั๋วบุฟเฟ่ต์ของสายการบินหนึ่งที่นำกลยุทธ์แบบนี้มาใช้ จ่ายทีเดียวบินกี่ไฟท์ก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมและจองล่วงหน้าในเวลาที่กำหนด พร้อมที่นั่งจำนวนจำกัด แต่ก็ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดึงกลุ่มลูกค้าให้กดจองเอาไว้กันเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้เดินทาง แต่...ข้อดีข้อเสียก็มีเหมือนการเมื่อรัฐบาลประกาศให้ยกระดับมาตรการก็ยิ่งทำให้ประชาชนกลัวการเดินทาง ตั๋วบุฟเฟ่ต์ที่ซื้อก็อาจจะสูญเปล่า
- การตลาดฉีดวัคซีนเลือกที่นั่งได้ฟรี : ถือว่าเป็นการตลาดเพื่อป้องกันความปลอดภัยและแสดงมาตรฐานการฉีดวัคซีนตามจำนวนที่กำหนด เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ถูกชูเป็นจุดขายสำหรับการทำการตลาดของสายการบินในประเทศ
- การตลาดขายของที่ระลึก : ในสถานการณ์ที่จำนวนผู้โดยสารน้อยลงทำให้สายการบินในประเทศต้องปรับตัวและสร้างการตลาดของที่ระลึกขึ้นมาขายเพื่อเพิ่มช่องทางรายได้ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ของที่ระลึกในแต่ละเทศกาล แต่ชูจุดเด่นเรื่องปัญหาของคนที่กลัวเครื่องบิน เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งจุดขายที่น่าจะจับตามองว่าจะยังทำรายได้เพิ่มมากขึ้นหรือเปล่า
การตลาดสายการบินต่างประเทศ
- การตลาด Business Class ราคาถูกลง : หลายสายการบินต่างประเทศที่ต้องเดินทางไกลๆเริ่มใช้กลยุทธ์ดึงดูดด้วยการตลาดที่นั่งระดับ Business Class ในราคาที่ถูกลงกว่าปกติ 30-40% แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขของมาตรการต่างๆ ก็ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่กระตุ้นกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการเดินอดใจไม่ไหวต้องกดจองและยอมกลับมากักตัว
- การตลาดโปรโมชั่นต่างๆ : หลายสายการบินดึงดูดด้วยการใช้โปรโมชั่นลดราคา เป็นเหมือนเที่ยวบินพิเศษภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้เลือกสายการบินของตัวเอง ยิ่งราคาถูกคุณภาพดีความปลอดภัยอันดับหนึ่ง ก็ย่อมถูกเลือกเป็นลำดับต้นๆ
- การตลาดเพื่อการขนส่งสินค้า (Cargo) : หลายสายการบิน Cargo ยังคงบินส่งสินค้าได้อยู่ถึงแม้ว่าปริมาณอาจจะน้อยลงแต่อาจจะเป็นช่องทางที่ยังคงรักษารายได้ไว้ในขณะนี้ของแต่ละสายการบินที่มี Cargo ต้องมาดูว่าแต่ละสายการบินจะชูจุดขายเรื่องการขนส่งออกมาได้เยอะขนาดไหนและธุรกิจที่ใช้การขนส่งทางเครื่องบินจะกลับมาฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ควบคู่กันหรือไม่อาจจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
BY : ArMs