รับมือพฤติกรรมผู้บริโภค ยุคโควิด-19
นักการตลาดได้แบ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคไว้ ดังนี้
Baby Boomer ชาวเบบี้ บูมเมอร์ คนกลุ่มนี้เป็นฐานลูกค้าหลักสำหรับสินค้าสมาร์ทโฟนและไอแพด อุปกรณ์เพื่อสุขภาพ อาทิ นาฬิกาตรวจจับการเต้นของหัวใจ นาฬิกาสำหรับออกกำลังกาย เครื่องนับก้าว
Gen X ปี 1965-1980 ชอบงานอดิเรกแปลกใหม่ ทำกิจกรรมนอกบ้าน เพราะอยู่ในภาวะ Digital Burnout หรือการเบื่อหน่ายโลกโซเชียล ผู้หญิง Gen X มีเป้าหมายดูแลความงามให้แลดูอ่อนกว่าวัย ชอบทดลองสินค้าสกินแคร์ใหม่
Millennial ปี 1981-1996 ชาวมิลเลนเนียลเป็นผู้เสพติดโซเชียล มีเดีย แต่เมื่อใช้งานมากขึ้นพวกเขารู้สึกเหงา จึงมีกิจกรรมเที่ยวพักผ่อน นั่งร้านกาแฟ โชว์ไลฟ์สไตล์หรูหรา ยึดถือเรื่องสุขภาวะ (Wellness) มากที่สุด กลายเป็นผู้บริโภคที่ขับเคลื่อนบริการคอร์สออกกำลังกาย อาหารคลีนที่เติบโตขึ้นรวดเร็วภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา
Gen Z ปี 1997-2012 เป็นกลุ่มที่เกิดมากับโลกดิจิทัลโดยแท้จริง เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ เชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ทุกเวลาต้องการให้ธุรกิจหรือแบรนด์พูดเรื่องความยั่งยืนและหลักฐานที่ชัดเจนในการให้คำมั่นสัญญาและการสนับสนุนสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
Alpha ปี 2010-ปัจจุบัน กลุ่ม Alpha เติบโตในสภาพแวดล้อมต่างจากเจเนอเรชันก่อนหน้านี้เป็นอย่างมาก เป็นกุญแจสำคัญให้ธุรกิจเรียนรู้ถึงปัจจัยต่าง ๆ ค่านิยมเรื่องเพศ , การเล่น กลุ่ม Alpha นิยมซื้อ วางกรอบคุณค่า รสนิยมของตนเอง การสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เกิดจากความต้องการของคนรุ่นใหม่
4 เทรนด์พฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคในปี 2021
1. THE COMPRESSIONALIST หมดแรง หมดไฟ แต่ใจต้องการได้สิ่งที่ดีที่สุด
2. THE MARKET MAKER ไม่รอตลาดตอบโจทย์ ลงมือสร้างความต้องการขึ้นเอง
3. KINDNESS KEEPER ผู้รักษาความเอื้ออารี ที่ทำหน้าที่รักษาสมดุล
4. CYBER CYNICS เพราะเทคโนโลยี อาจไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง
การเข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้บริโภคแบรนด์ต้องให้ความสำคัญกับจริยธรรมด้านข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลที่โปร่งใส อธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล นอกจากนี้การเปลี่ยนผ่านจากยุค Post-Truth หรือยุคที่ความจริงไม่ได้มีความหมายเท่ากับความเชื่อมาสู่ยุค Post-Trust ที่กลุ่มผู้บริโภคซึ่งต่อต้านโลกไซเบอร์มองว่าการวัดค่าทุกอย่างด้วยข้อมูลอาจเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเสมอไป ผู้บริโภคกำลังจับตาถึงแพลตฟอร์มต่างๆ และอินฟลูเอนเซอร์ ผู้บริโภคต้องการการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาซึ่งแบรนด์ควรใส่ใจถึงกฏ Economy of Trust หรือกฏของความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่จะทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้
ที่มา : https://www.marketingoops.com/