SMEsAcademy-FB
รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

เส้นทางนักบัญชีสู่การเป็น CFO (CHIEF FINANCIAL OFFICER)

19 กรกฎาคม 2564
เส้นทางนักบัญชีสู่การเป็น CFO (CHIEF FINANCIAL OFFICER)
ในปัจจุบันนี้นักบัญชีเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีบทบาทและความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก เนื่องจากองค์กรสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดำเนินงานภายใต้นโยบายขององค์กรนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เส้นทางนักบัญชีสู่การเป็น CFO (CHIEF FINANCIAL OFFICER)

CFO เปรียบเสมือนหัวเรือใหญ่ที่คอยควบคุมรวมถึงวางแผนการเงินขององค์กรหรือบริษัทนั้นๆ เช่น การบริหารกระแสเงินสด คำนวณต้นทุน วัตถุดิบ วางแผนการระดมทุน เช่น การออกหุ้นกู้ กู้เงินธนาคาร เสนอขายหุ้นฯ  เพื่อให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนนำไปใช้ขยายกิจการ จ่ายดอกเบี้ยรวมถึงปันผลให้กับผู้ถือหุ้นกู้ด้วย

วางแผนเส้นทางอาชีพของตนเอง

นักบัญชีควรจะมีการวางแผนเส้นทางอาชีพด้วยการจัดทำแผนการพัฒนาตนเองที่จะทำให้มองเห็น เช่น จากนักบัญชีไปสู่การเป็นหัวหน้าฝ่ายบัญชี และสูงสุดคือการเป็น CFO เป็นต้น สำหรับความมุ่งหวังที่จะเป็น CFO จะต้องมีการเตรียมตัวที่ดีรอบด้าน เนื่องจากตำแหน่งนี้ต้องการผู้ที่มีความรู้และมีความสามารถ

 

สะสมประสบการณ์

การได้ทำงานที่หลากหลายย่อมทำให้มีความรู้และข้อมูลที่มากขึ้น นักบัญชีไม่ควรหยุดนิ่งเพื่อเป็นการเติบโตในสายงานของตนเอง ควรมีการหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่ ความรับผิดชอบไปหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีประสบการณ์และเรียนรู้งานอื่นมากขึ้นจนสามารถนำมาพัฒนาตนเองให้ไปสู่ตำแหน่งใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้

 

ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรม

ในปัจจุบันนี้มีการจัดสัมมนาและอบรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความสามารถ ทางวิชาชีพรวมถึงทักษะทางด้านอื่นๆ ที่จะทำให้ได้รับข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ อีกทั้งยังสามารถนำมาพัฒนาการทำงานของตนเองด้วย

 

หมั่นสร้างความสัมพันธ์กับสายงานอื่น

ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างสัมพันธ์และหาความรู้ในสายงานของตนเองเท่านั้น CFO ที่รอบรู้ควรจะผูกมิตรหรือสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับสายงานอื่นบ้าง เพื่อเป็นการเกื้อกูลซึ่งกันและกันในยามที่จำเป็นต้องพึ่งพากัน นอกจากนี้แล้วยังเป็นการทราบถึงความต้องการของหน่วยงานอื่นๆว่าสิ่งใดบ้างที่คาดหวังจากนักบัญชีและ CFO

 

ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร

นอกจากมีประสบการณ์หลากหลาย มีความรู้ด้านอื่นๆ แล้ว การเป็น CFO ที่ดีมีความสามารถในการทำงานแล้วยังต้องทำควบคู่กับจริยธรรม คือการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรหรือบริษัทของตนเองด้วยความซื่อสัตย์และจริงใจเพราะถ้าหากว่ามีความรู้ความสามารถแต่คดโกงเปรียบเสมือนเนื้อร้ายที่ทำลายองค์กร


ที่มา : https://www.amtaudit.com


บทความที่คล้ายกัน