SMEsAcademy-FB
รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

7 กลยุทธ์สื่อสารแบรนด์ในภาวะวิกฤต

15 กรกฎาคม 2564
7 กลยุทธ์สื่อสารแบรนด์ในภาวะวิกฤต
จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและลึก ครอบคลุมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง ตัวเร่งในการส่งเสริมบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อการทำธุรกิจ รวมถึงการสื่อสารแบรนด์ แบรนด์ต้องทำมากกว่าการขายของหรือสื่อสารอย่างไรให้โดนใจผู้บริโภค แบ่งออกเป็น 7 แนวทางธุรกิจ Brand Communication - COVID-19

7 กลยุทธ์สื่อสารแบรนด์ในภาวะวิกฤต

แก้ Pain Point ผู้บริโภค พาแบรนด์ก้าวสู่ Post COVID-19

 

1. Brand Purpose

สร้างคุณค่าร่วมระหว่างแบรนด์ ผู้บริโภค  พาร์ทเนอร์ สังคม ในภาวะวิกฤต สิ่งที่แบรนด์ควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งคือ แบรนด์มีเป้าประสงค์ดำรงอยู่เพื่อสร้าง “คุณค่าร่วม” โดยให้การตอบสนองต่อผู้บริโภครวดเร็วชัดเจนมีความเป็นเอกภาพส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสาร “เพราะคำว่า แบรนด์นั้นกินความหมายมากกว่าเพียงงานโฆษณาหรือสินค้าที่ผู้บริโภคสัมผัสได้ในชีวิตประจำวันควรใช้โอกาสนี้ว่ามีโอกาสที่จะสื่อสาร Brand Purpose ให้ผู้บริโภครับรู้ และนำมาพัฒนาเป็นแคมเปญสื่อสารกับผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง”

 

2. Business Reinvented

ปรับโมเดลธุรกิจ เพื่อพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ผู้บริโภคคาดหวังจากแบรนด์ไม่ใช่แค่เพียงการโฆษณา แต่เป็นการปรับ “Business Model” ชั่วคราว 

 

3. Shared Economy

เศรษฐกิจแบ่งปันร่วมกัน โมเดลการช่วยเหลือสังคมรูปแบบใหม่ นอกเหนือจากการบริจาคการช่วยเหลือในรูปแบบอื่นที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจกับผู้บริโภคได้เพิ่มขึ้น 

 

4. Connected Quarantine

แบรนด์ยังคงส่งมอบความสุขให้ผู้บริโภคได้ Insights ของคนไทยมองว่าแม้จะอยู่ในช่วง Quarantine หรือหยุดอยู่บ้าน ก็ยังต้องการมีความสุข ด้วยการครีเอทแคมเปญ หรือการสื่อสารที่สามารถสร้าง “โมเมนต์ความสุข – ความสนุก” ให้กับผู้บริโภคได้

 

5. Addressing underlying issues : แบรนด์ตอบโจทย์ Pain Point ผู้บริโภค

ในช่วงที่ผู้บริโภคอยู่บ้าน คนจำนวนไม่น้อยที่เผชิญกับสุขภาพทางใจ ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะเครียด เหงา วิตกกังวล แบรนด์ควรเข้ามามีบทบาทในการเยียวยาสุขภาพทางจิตใจผู้บริโภคจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทในการแก้โจทย์

 

6. Entertainment as edutainment : ข้อมูลข่าวสารที่สนุก

จะทำให้ผู้บริโภคเปิดรับในภาวะวิกฤต สิ่งที่ผู้คนต้องการมากที่สุด หนึ่งในนั้นคือการอัพเดทข้อมูลข่าวสารที่ทันสถานการณ์ แต่ย่อมตามมาด้วยความเครียดสะสม เพราะฉะนั้นจึงไม่มีใครอยากรับคอนเทนต์ที่หนักเกินไป 

 

7. Pandemic in your wallet

เมื่อผู้บริโภคกังวลด้านการเงิน แบรนด์ควรเร่งออกมาตรการช่วยเหลือ  ออกแคมเปญเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค เช่น แคมเปญของสถาบันการเงินต่างๆ ที่ทำมาตรการช่วยผู้บริโภคผ่อนคลายด้านการเงิน รวมถึงช่วยผู้บริโภควางแผนทางการเงินในอนาคต เพื่อในวันที่เกิดสถานการณ์วิกฤตขึ้นอีก ผู้บริโภคจะได้ไม่ประสบปัญหาอีก


ที่มา : https://www.marketingoops.com


บทความที่คล้ายกัน