ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
วันนี้เราจะพามาดูในส่วนของภาษีหัก ณ ที่จ่าย ว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่งด้วยกัน
ฝั่งผู้หัก จะเป็นในส่วนนิติบุคคลเท่านั้นที่มีสิทธิ หัก ณ ที่จ่าย เมื่อมีการหักแล้ว ต้องนำให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป หากยื่นทางช่องทางออนไลน์จะบวกเพิ่มอีก 8 วันเป็นวันที่ 15 หากติด เสาร์ - อาทิตย์ สามารถชำระวันสุดท้ายในวันจันทร์ และทางผู้หัก ต้องทำการจัดทำใบ 50 ทวิ หรือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ฝั่งของผู้ถูกหัก
ฝั่งผู้ถูกหัก เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล เมื่อเราได้ถูกหักแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือตามใบ 50 ทวิ หรือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อที่จะนำใบนี้ไปขอคืนตอนยื่นภาษีสิ้นปี
อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ธุรกิจมักพบบ่อย
ค่าเช่า หักที่อัตรา 5% หากผู้ประกอบการมีสินทรัพย์ เช่น บ้าน หรือ รถ สามารถให้กิจการทำเช่าได้ ในส่วนของรถยนต์เช่าได้สูงสุดไม่เกิน 36,000 บาท ซึ่งค่าเช่าจะถูกหัก ณ ที่จ่าย 5%
ค่าบริการ / ค่าจ้าง หักที่อัตรา 3% เมื่อมีการจ้าง Parttime หรือ พนักงาน Freelance ไม่ได้มีการขึ้นประกันสังคม ถือเป็นการจ้างบริการต้องทำการหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงิน
ค่าโฆษณา หักที่อัตรา 2% เป็นการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางหนังสือพิมพ์ เพื่อเป็นการโรโมท จะทำการถูกหัก ณ ที่จ่าย 2%
ค่าขนส่ง หักที่อัตรา 1% หากคุณทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ และมีการใช้ขนส่งเอกชนเป็นประจำทุกวันเช่า Kerry , Best Express สามารถทำการหัก ณ ที่จ่ายได้ แต่ต้องทำการติดต่อกับทางบัญชีขนส่งนั้นโดยตรง
ค่าเงินปันผล หักที่อัตรา 10% หากกิจการมีกำไรก็สามารถปันผลให้กรรมการได้ ซึ่งจะถูกหัก ณ ที่จ่าย 10% หากเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เงื่อนของการหัก ณ ที่จ่าย ต้องเป็นยอดตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไปถึงจะทำการหักได้ เว้นแต่รายจ่ายนั้นมีสัญญาการใช้ประจำ เช่น ค่าโทรศัพท์ หรือ ค่าขนส่ง(เอกชน) ถึงจะมียอดไม่ถึง 1,000 บาทก็ต้องทำการหัก ณ ที่จ่าย
การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะมี 3 กรณี ดังต่อไปนี้
กรณีที่ 1 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นการหัก ณ ที่จ่ายปกติ ที่มักพบเจอบ่อย ตัวอย่างเช่น
ค่าบริการ 10,000 บาท
หัก ณ ที่จ่าย (3%) 300 บาท
เงินที่จ่ายทั้งสิ้น 9,700 บาท
กรณีที่ 2 และกรณีที่ 3 เป็นกรณีที่ผู้ถูกหัก ไม่ยอมให้มีการหัก เนื่องจากอยากได้รับเงินจำนวนเต็ม แต่กรณีที่ 2 จะมียอดถูกหักนิดหน่อยตามตัวอย่างต่อไปนี้
กรณีที่ 2 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกแทนให้ครั้งเดียว
ค่าบริการ 10,000 บาท
หัก ณ ที่จ่ายออกให้ครั้งเดียว (3%) 300 บาท
รวมเป็นเงิน 10,300 บาท
หัก ณ ที่จ่าย (3%) 309 บาท
เงินที่จ่ายทั้งสิ้น 9,991 บาท
สูตรคำนวณ = (จำนวนเงินได้ที่จ่าย + ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกให้ครั้งเดียว) x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
กรณีที่ 3 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกแทนให้ตลอดไป
ค่าบริการ 10,000 บาท
หัก ณ ที่จ่ายออกให้ตลอดไป 309.28 บาท (10,00*3/97)
รวมเป็นเงิน 10,309.28 บาท
หัก ณ ที่จ่าย (3%) 309.28 บาท
เงินที่จ่ายทั้งสิ้น 10,000 บาท
สูตรคำนวณ = จำนวนเงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย / (100 - อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
แบบแสดงรายการต่างๆ ขอภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภ.ง.ด.1 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ 40 (2) ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง โบนัส เป็นต้น โดยยื่นแบบเฉพาะพนักงานที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น
ภ.ง.ด.1ก คือ เป็นสรุปรายละเอียดเงินได้ของพนักงานแบบรายปี และ จะต้องแสดงรายละเอียดเงินได้ของพนักงานทุกคนถึงแม้ว่าพนักงานคนนั้นจะไม่มีเงินได้ที่ถึงเกณฑ์เสียภาษีก็ตาม
ภ.ง.ด.3 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกรณีที่ทำการจ่ายให้กับบุคคลธรรมดา
ภ.ง.ด.53 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกรณีที่ทำการจ่ายให้กับนิติบุคคล
ภ.ง.ด.54 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกรณี เมื่อมีการจ่ายเงินไปให้กับนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นในต่างประเทศ และมิได้เข้ามาประกอบกิจการในไทย ซึ่งจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) - เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6)
ตัวอย่างเอกสาร หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย