SMEsAcademy-FB
รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

บัญชีสำหรับ ธุรกิจ START UP น้องใหม่

19 กรกฎาคม 2564
บัญชีสำหรับ ธุรกิจ START UP น้องใหม่
สำหรับธุรกิจ Startup ควรมีทักษะความรู้พื้นฐาน ด้านบัญชี และ การเงิน เริ่มตั้งแต่การเข้าใจในการอ่านงบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน งบแสดงฐานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด เพื่อให้เข้าใจถึงโครงสร้างของฐานะการเงิน กระแสเงิน

บัญชีสำหรับธุรกิจ START UP น้องใหม่

ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ ธุรกิจ Startup นั้น เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่แตกต่างจากกิจการทั่วไป เพราะโดยส่วนใหญ่ธุรกิจ Startup จะมีการระดมทุนเป็นรอบ ๆ ระดมทุนโดยที่ยังไม่มีกำไร ตัวชี้วัดในช่วงแรก เป็นจำนวนผู้บริโภคที่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการของเรา

1. งบแสดงฐานะทางการเงิน คือ งบแสดงสถานะทางการเงินของบริษัท ส่วนประกอบของงบประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น เมื่อเรานำสินทรัพย์มาหักออกด้วยหนี้สินทั้งหมด ก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือส่วนทุนนั่นเอง  งบที่ดีควรมีส่วนทุนเป็นบวก คือมีสินทรัพย์สูงกว่าหนี้สิน และควรมีทุนสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

 

2. งบกำไร-ขาดทุน เมื่อทำธุรกิจแล้วก็ต้องมี “กำไร” หากทำแล้วไม่มีกำไร ก็เหมือนเป็นองค์กรการกุศล Startup ควรรู้จักกับงบกำไร-ขาดทุน คือ ขายของแล้วหักลบต้นทุนก็คือกำไร ส่วนประกอบของงบกำไร-ขาดทุน ได้แก่ รายได้ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย (บริหาร) ต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย ต้นทุนภาษี ค่าเสื่อมราคา... คือ นำเอารายได้มาหักลบออกจากต้นทุนทั้งหมด หากเป็นบวก = มีกำไร

 

3. งบกระแสเงินสด กระแสเงินสดเปรียบเหมือน เลือดที่ไหลเวียนในร่างกาย (กิจการ) ให้หล่อเลี้ยงและดำรงอยู่ กิจการใดทำแล้วไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสด หรือกระแสเงินสดติดลบจะถือว่าเป็นอันตราย กระแสเงินสดมี 3 แบบ ได้แก่ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน-คือกระแสเงินสดที่นำรายได้หักลบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน-คือกระแสเงินสดที่ได้จากเงินที่ไม่ใช่การขายสินค้า หรือจากเงินกู้ และกระแสเงินสดจากการลงทุน-คือกระแสเงินสดที่นำเงินที่ได้มาไปลงทุนต่อยอด สำหรับ Startup  กระแสเงินสดนั้นก็เหมือนเงินที่ไหลเวียนเข้า-ออกสู่ธุรกิจนั่นเอง

 

4. รู้จักการจัดการเรื่องภาษี ต้นทุนแฝงที่แสนสำคัญของการทำธุรกิจก็คือ “ต้นทุนภาษี” หากนักธุรกิจ Startup รู้จักการจัดการเรื่องภาษีจะช่วยลดต้นทุนในเรื่องเหล่านี้ได้มากมายทีเดียว... การลงบัญชีที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนแฝงในส่วนนี้ได้


งานบัญชีทั้ง 4 อย่างถือว่า “สำคัญมากๆ” หากคิดจะเป็นเจ้าของธุรกิจ Startup อย่างมืออาชีพ การรู้เรื่องธุรกิจอย่างเดียวนั้นไม่พอ ควรรู้เรื่องบัญชีและภาษีไว้ด้วย


ที่มา : https://www.meconomics.net


บทความที่คล้ายกัน