SMEsAcademy-FB
รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

ธุรกิจร้านยำกับอินฟลูเอนเซอร์

07 เมษายน 2565
ธุรกิจร้านยำกับอินฟลูเอนเซอร์

ธุรกิจร้านยำกับอินฟลูเอนเซอร์

มีใครไม่เคยกินยำบ้างหรือไม่? ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับการทำธุรกิจยำขาย แต่ในปัจจุบันการทำยำต่อยอดจนกลายเป็นธุรกิจที่เป็นกระแสหรือเทรนด์ในโลกออกไลน์จนทำให้จากร้านยำเล็กๆสามารถขยับขยายและพัฒนาเป็นธุรกิจที่เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจใหญ่โต ผลมาจากอินฟลูเอนเซอร์สายอาหารและสายรีวิว ต่างทำคอนเทนต์รีวิวร้านยำหรือธุรกิจยำเจ้าไหนที่กำลังจะเปิดใหม่ ร้านไหนที่กำลังดัง ร้านไหนที่มีจุดเด่นก็ส่งผลให้มีคนตามไปกินเป็นจำนวนมาก วันนี้เราจะมาพูดถึงธุรกิจยำกับอินฟลูเอนเซอร์ก็เหมือนดารากับนักข่าวจริงหรือ และอะไรทำให้ธุรกิจร้านยำเติบโตจนกลายเป็นเทรนด์ที่คนหันมาทำธุรกิจ ทั้งประสบความสำเร็จและก็ไม่ประสบความสำเร็จ ธุรกิจร้านยำที่ประสบความสำเร็จจนกลายเป็นธุรกิจหลายสาขาได้มีจุดเด่นอะไรหรือเพราะอินฟลูเอนเซอร์อย่างเดียวเหรอ?


ไม่ใช่แน่นอน เพราะการรีวิวของฟลูเอนเซอร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะหากผู้บริโภคไปทานแล้วกลับรสชาติไม่เหมือนที่รีวิวกลายเป็นเรื่องดราม่าในโลกโซเชียล แต่ความชอบของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน และอะไรละที่ทำให้ธุรกิจร้านยำยังคงเติบโตแม้อินฟลูเอนเซอร์จะไม่ได้กลับไปรีวิวซ้ำอีก

1. รสชาติ : พูดถึงธุรกิจอาหารหัวใจหลักของธุรกิจคงหนีไม่พ้นเรื่องรสชาติ เพราะถ้าหากอินฟลูเอนเซอร์รีวิวอวยยังไง แต่ถ้าร้านยำรสชาติไม่อร่อยจริง ธุรกิจคงไม่เติบโตและผู้บริโภคก็จะไม่กลับไปรับประทานซ้ำแน่นอน แต่ในมุมกลับกันถ้าอินฟลูเอนเซอร์เป็นแค่จุดเริ่มต้นในการชี้ช่องทางความอร่อยว่ามีร้านนี้และลูกค้าตามไปกินจริง อร่อยจริง ถือเป็นการสร้างการตลาดที่ต่อยอดไปสาขาต่อๆไปเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น

2. จุดขายด้านเมนูและวัตถุดิบ : ทุกร้านที่ประสบความสำเร็จ จะมีจุดขายด้านเมนูที่เป็นเอกลักษณ์ มีการตั้งชื่อและนำวัตถุดิบมายกระดับหรือสร้างสรรค์เป็นเมนูใหม่ขึ้นมาให้ดูน่าสนใจและดึงดูดให้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์อยากจะมาลองชิมและรีวิวเมนูนี้ ถือเป็นการทำการตลาดของทางร้านที่ต่อโดยไม่ต้องจ้างอินฟลูเอนเซอร์แต่เป็นการขายจุดเด่นที่เป็นการบอกปากต่อปากของกลุ่มลูกค้า

3. จุดขายด้านคาแรคเตอร์ของร้าน : ร้านยำส่วนใหญ่นอกจากความแซ่บแล้ว จุดขายด้านคาแรคเตอร์ของแม่ค้าที่ยำไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัวที่ดูโดดเด่นดึงดูดและการพูดคุยกับลูกค้าแบบเป็นกันเอง รวมทั้งการนำเสนอรูปแบบการยำที่ไม่เหมือนใคร ถือเป็นการสร้างจุดขายและสร้างภาพลักษณ์ระหว่างรอ เป็นการนำเสนอผ่านคาแรคเตอร์ของร้านที่จะเป็นตัวนำอินฟลูเอนเซอร์เข้ามาช่วยกระตุ้นขยายการรับรู้ไปในวงกว้าง และกลายเป็นภาพจำของธุรกิจ

4. กลยุทธ์ที่แตกต่าง : มีร้านยำหลายเจ้าเลือกใช้กลยุทธ์ที่แตกต่าง ไม่ว่าการเลือกใช้วัตถุดิบหรือภาชนะที่ใช้ที่ใหญ่ขึ้น เพื่อสร้างจุดขายในรูปแบบที่แตกต่างไม่เหมือนใคร ชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายอยากมาลิ้มลอง หรือแม้แต่การสร้างจุดขายร้านยำแบบบุฟเฟ่ต์ในราคาที่ถูกลง แต่ความหลากหลายที่คุณจะได้กินกลับเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงความอร่อยก็ถือเป็นกลยุทธ์ที่แตกต่างและดึงดูดอินฟลูเอนเซอร์และลูกค้าได้เป็นอย่างดี


แต่ไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่ทำธุรกิจร้านยำและจะประสบความสำเร็จ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ควรคำนึง ไม่ว่าจะเป็นโลเคชั่น และงบการตลาดแบบออนไลน์รวมทั้งการจัดส่งแบบ Delivery ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องวางแผนและทำการตลาดให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายตามทำเลที่คุณจะเปิดร้าน แต่ 4 ข้อนี้คือรูปแบบพื้นฐานที่คุณสามารถหยิบยกไปพัฒนาธุรกิจร้านยำของคุณให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จและมีอินฟลูเอนเซอร์เข้ามารีวิวโดยที่ไม่ต้องจ้าง ถือเป็นการทำการตลาดแบบ WIN-WIN


BY : ArMs


บทความที่คล้ายกัน