SMEsAcademy-FB
รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

ทำความเข้าใจและรู้จักเรื่อง VAT 7 %

27 สิงหาคม 2564
ทำความเข้าใจและรู้จักเรื่อง VAT 7 %

ทำความเข้าใจและรู้จักเรื่อง VAT 7%

ใครได้ประโยชน์ และประเทศพัฒนาอย่างไร ?

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% หรือ VAT 7% เป็นสิ่งที่คนไทยน่าจะคุ้นหูกับการเรียกอัตราภาษีนี้มาหลายสิบปี ซึ่ง VAT 7% มักถูกหยิบยกขึ้นมาพูดทุกๆ ปี แต่จะมีใครรู้บ้างว่าที่มาที่ไปของ VAT7% นั้นคืออะไร แล้วถ้าหากเปรียบเทียบกับต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วอัตราภาษีนี้ถูกจัดเก็บที่เท่าไหร่ และประโยชน์ของการจ่าย VAT7% ต่อการพัฒนาประเทศคืออะไรจะเล่าให้เข้าใจอย่างง่ายๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax (VAT) คือภาษีอากรประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในทุกการบริโภคที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นภาษีทางอ้อมโดยที่ผู้ประกอบการนั้นจะเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าและบริการที่บวกลงไปในราคาของผลิตภัณฑ์ และจะนำภาษีนั้นส่งให้กับกรมสรรพากรเพื่อเข้าสู่คลังของประเทศเพื่อการใช้จ่ายและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งหากสังเกตจะเห็นว่าภาษีนี้จะถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนไว้ใน“ใบกำกับภาษี” ที่เราได้รับมาตอนชำระเงินเสร็จแล้ว


สำหรับสูตรการคำนวณ VAT

ราคาสินค้า/บริการ x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท TWN ขายโต๊ะได้ 10,700 บาท โดยแบ่งเป็นต้นทุน 10,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 700 บาท โดยบริษัท TWN ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสรรพากรในทุกๆ เดือน

 

อันที่จริงแล้วสำหรับประเทศไทยอัตรา VAT ที่แท้จริงอยู่ที่ 10% มาตั้งแต่ปี 2535 แต่ว่าเมื่อปี 2540 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาลดอัตราภาษี VAT ซึ่งจะพิจารณาต่อในทุกๆ 2 ปี เหลือที่ 7% เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนในช่วงที่ประเทศเจอวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน หรือวิกฤตต้มยำกุ้ง หลังจากนั้นตลอด 20 ปีที่ผ่านมาเราจึงเห็น 7% มาตลอดจนถึงปัจจุบัน แทนที่จะเป็น 10% อย่างที่ควรจะเป็น

ปัญหาของประเทศไทยที่ต้องเผชิญคือ การจัดเก็บอัตราภาษีต่างๆ ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น กระทบต่องบประมาณในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ แต่สิ่งเหล่านี้มักเป็นสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่มองข้าม และมักจะไม่อยากเสียภาษีในอัตราที่สมเหตุสมผล เพราะมองว่าภาษีคือ ภาระ ไม่ได้มองว่าเป็นหน้าที่ของพลเมือง แต่มีความต้องการที่จะได้สวัสดิการที่ดี โครงสร้างพื้นฐานที่ดี คุณภาพชีวิตที่ดี เหมือนในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริง


ภาษีมูลค่าเพิ่มถูกนำไปใช้ประโยชน์อะไรกับประชาชน

ผลจากการจ่ายภาษีของประชาชนไม่เพียงแค่ทำให้ประเทศชาติมีงบประมาณในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ผลประโยชน์อีกนานัปการที่ประชาชนจะได้กลับไปในรูปแบบของสวัสดิการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต ซึ่งนี่คือผลดีที่ประชาชนจะได้จากการชำระภาษี เพราะสุดท้ายเงินภาษีที่ชำระมาคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองในด้านต่างๆ โดยภาครัฐจะเป็นผู้จัดสรรตามความเหมาะสมนั้นเอง โดยจะถูกจัดสรรไปเป็นงบประมาณตามลักษณะงาน ดังนี้ (อิงตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี)

  1. งบการศึกษา
  2. งบสวัสดิการผู้สูงอายุ
  3. งบด้านความมั่นคง
  4. งบการขนส่ง
  5. งบสาธารณสุขอื่น (ซึ่งรวมถึงบัตรทอง)
  6. งบโรงพยาบาล
  7. งบตำรวจ
  8. งบในลักษณะงานอื่นๆ

ประเทศพัฒนาแล้วเก็บ VAT ที่กี่เปอร์เซ็นต์

ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้ามีอัตราการจัดเก็บภาษี VAT ที่แตกต่างกัน แต่ถึงอย่างไรการจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยนี้ย่อมทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและบริการสาธารณะที่ดีมาก ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลกมีการเก็บภาษี VAT ในอัตราต่างๆ ดังนี้

ญี่ปุ่น                   VAT 10% 
เกาหลีใต้             VAT 10%
จีน                      VAT 17%
ออสเตรเลีย         VAT 10%
นอร์เวย์               VAT 25%
นิวซีแลนด์           VAT 12.5%
เยอรมัน               VAT 19%
สหราชอาณาจักร  VAT 20% 
เดนมาร์ก              VAT 25%
ออสเตรีย             VAT 20%  
ฝรั่งเศส               VAT 19%
ฟินแลนด์             VAT 23%
อิตาลี                  VAT 20%
แคนาดา              VAT 7 – 25%

ซึ่งเฉลี่ยทั้งโลกจัดเก็บที่ 15.5%

ส่วนสหรัฐอเมริกาการเก็บภาษีการค้าไม่ได้เรียกว่า VAT แต่เป็นภาษีการขายเรียกว่า Sales Tax ซึ่งแต่ละรัฐจะเก็บในอัตราที่ไม่เท่ากัน และเป็นการเรียกเก็บค่าบริการโดยตรงกับผู้ซื้อ ยังไม่รวม ภาษีรัฐ หรือ Stage Tax ที่เพิ่มเติมมาต่างหาก


ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงมาก ซึ่งนั่นทำให้รัฐบาลมีงบประมาณมากเพียงพอจะไปจัดสรรการบริหารราชการแผ่นดินได้มีประสิทธิภาพอย่างที่ประชาชนต้องการ นอกจากจะเก็บ VAT ได้สูงแล้ว ภาษีเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ก็ยังจัดเก็บในอัตราที่สูงและครอบคลุมประชาชนเกือบทั้งหมด โดยจัดเก็บกันที่ 40% ขึ้นไป และครอบคลุมประชากรมากกว่า 80% ส่วนประเทศในภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยถือว่ามีการเก็บ VAT น้อยที่สุดเทียบเท่ากับสิงคโปร์


บทความที่คล้ายกัน