SMEsAcademy-FB
รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

ผู้ประกอบการใหม่ ต้องใส่ใจบัญชี และภาษี

19 กรกฎาคม 2564
ผู้ประกอบการใหม่ ต้องใส่ใจบัญชี และภาษี
เมื่อเริ่มต้นธุรกิจ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องมีคือความรู้ ด้านบัญชี และด้านภาษี

ผู้ประกอบการใหม่ ต้องใส่ใจบัญชี และภาษี


ซื้อ-ขาย ต้องมีเอกสารหลักฐาน

บัญชีเบื้องต้นสำหรับทุกกิจการ การบริหารรายรับทำให้สามารถทราบยอดขายได้ง่าย และวางแผนทางการเงินได้ดี

จดบันทึกรายการทุกครั้งที่ใช้จ่าย

แบ่งสองส่วนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายในการขาย หรือ “ต้นทุนขาย” ประกอบด้วย ราคาต้นทุนซื้อของสินค้าและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ของบริษัท เช่น ค่าเช่าออฟฟิศ ค่าน้ำค่าไฟ รวมไปจนถึง เงินเดือนของพนักงาน เป็นต้น


ด้านภาษี ที่ต้องรู้ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ มี 9 ข้อ 

1. ภาษีเงินได้

คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้นิติบุคคล   บุคคลธรรมดา ครึ่งปีใช้ ภงด.94  ประจำปีใช้ ภงด.90  ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ครึ่งปีโดยใช้ ภ.ง.ด. 51 และประจำปีใช้ ภ.ง.ด.50


2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า ผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข


3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT

เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการใน ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ


4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ใช้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การธนาคาร หรือโรงรับจำนำ สำหรับการยื่นภาษีธุรกิจเฉพาะนี้ เราจะใช้ ภ.ธ.40 ในการยื่นภาษี และต้องยื่นภาษีภายใน 15 วันของเดือนถัดไป


5. ภาษีสรรพสามิต

เรียกเก็บจากการขายสินค้า/บริการ เช่น บุหรี่ เหล้า น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ อาบอบนวด หรือสินค้า/บริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย เช่น น้ำหอม สนามกอล์ฟ 


6. ภาษีบำรุงท้องที่

หมายถึง ภาษีที่เก็บจากเจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ไม่อยู่ข่ายที่ได้รับการยกเว้นภาษี (เช่น อาคารพาณิชย์ ที่รกร้าง)


7. ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง

ซึ่งเก็บจากอาคาร, ที่ดินเพื่อเช่า มีรายได้จากการเช่า เสียภาษีโรงเรือนจำนวน 12.5% ต่อปีของค่ารายปี โดยชำระที่สำนักงานเขต หรืออำเภอที่ตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี


8. ภาษีป้าย

คือภาษีที่เก็บจากป้าย ซึ่งคิดตามขนาดของป้าย แต่เริ่มต้นที่ 200 บาทสำหรับป้ายที่ไม่ได้รับการยกเว้น ภาษีป้ายจะต้องยื่นที่สำนักงานเขต หรืออำเภอที่ตั้งอยู่ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี


9. อากรแสตมป์

เป็นภาษีที่ต้องเสียเมื่อทำธุรกรรมบางอย่าง (มี 28 อย่าง) เช่น สัญญาเช่าที่ เช่าซื้อ จ้างทำของ หรือการกู้ยืมเงินฯ โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือ ผู้ให้เช่า หรือผู้ให้กู้


ที่มา: https://medium.com, ภีม เพชรเกตุ , https://ataccounting.in.th/


บทความที่คล้ายกัน