มนุษย์เงินเดือน คำนวณการถูกหัก ณ ที่จ่ายอย่าไร
1. ประเภทเงินได้ และการหักค่าใช้จ่าย
มนุษย์เงินเดือนถือเป็นรายได้ประเภท 40(1) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ตัวอย่าง
เงินเดือน (50,000 บาท x 12 เดือน) 600,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท
รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 500,000 บาท
2. อัตราการหักค่าใช้จ่าย จะหักตามอัตราขั้นบันได
เงินได้หลังหักค่าลดหย่อน | อัตรา | ภาษีและขั้นของเงินได้ |
0 – 150,000 | ยกเว้น | ยกเว้น |
150,001 – 300,000 | 5 % | 7,500 |
300,001 - 500,000 | 10 % | 20,000 |
500,001 - 750,000 | 15 % | 37,500 |
750,001 - 1,000,000 | 20 % | 50,000 |
1,000,001 - 2,000,000 | 25 % | 250,000 |
2,000,001 - 5,000,000 | 30 % | 900,000 |
5,000,001 บาทขึ้นไป | 35 % | คำนวณตามจริง |
3. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1
4. ตัวอย่างการคำนวณ
ตัวอย่าง
นาย A มีเงินเดือน 50,000 บาท ต่อเดือน รวมเป็นเงิน 600,000 บาท ต่อปี
นาย A เป็นคนโสดมีลดหย่อนตนเอง 60,000 บาท
รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
เงินเดือน (50,000 บาท x 12 เดือน) 600,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 50 % 100,000 บาท
ลดหย่อนตนเอง 60,000 บาท
เงินได้สุทธิก่อนเสียภาษี 440,000 บาท
** จากนั้นนำ 440,000 บาท มาคูณอัตราภาษีขั้นบันได
5. คำนวณอัตราภาษีขั้นบันได
จากข้อที่แล้ว นาย A เงินได้สุทธิก่อนเสียภาษี 440,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าลดหย่อน | รายได้สุทธิ | อัตราภาษี | ภาษีและขั้นของเงินได้ |
0 – 150,000 | 150,000 | ยกเว้น | - |
150,001 – 300,000 | 150,000 | 5 % | 7,500 |
300,001 - 500,000 | 140,000 | 10 % | 14,000 |
500,001 - 750,000 | - | 15 % | - |
750,001 - 1,000,000 | - | 20 % | - |
1,000,001 - 2,000,000 | - | 25 % | - |
2,000,001 - 5,000,000 | - | 30 % | - |
5,000,001 บาทขึ้นไป | - | 35 % | - |
440,000 | 21,500 ต่อปี |
นาย A จะเสียภาษีอยู่ที่ 21,500 บาท/ต่อปี
นำ 21,500 บาท มาหาร 12 จะเท่ากับ 1,791.67 บาท
นำยื่น ภ.ง.ด 1 ทุกเดือน
By : เพจบัญชีอย่างง่าย