กลยุทธ์ในการเข้าสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ
การที่ธุรกิจสามารถออกไปดำเนินงานในต่างประเทศได้นั้น ผู้บริหารต้องมีความต้องการนำธุรกิจของตนเข้าสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ เพราะถ้ามิได้มีความต้องการไปดำเนินงานในต่างประเทศแล้วธุรกิจระหว่างประเทศย่อมไม่เกิดขึ้นและส่งผลไปยังความเสียเปรียบในด้านต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่สูง เนื่องจากผลิตจำนวนน้อย ทำให้ถูกธุรกิจากต่างประเทศซึ่งมีความได้เปรียบในเรื่องต่างๆเข้ามาแข่งขันและในที่สุดก็ต้องล้มเลิกไป เมื่ออกสู่ตลาดโลกทั้งการค้าและการลงทุนนั้น ธุรกิจต้องให้ความสนใจกับระดับการลงทุนและระยะเวลาที่จะเกิดความสำเร็จในการลงทุนด้วย เช่นการขยายธุรกิจจากประเทศเยอรมันเข้าไปในออสเตรียหรือสวิสเซอร์แลนด์อาจต้องใช้เวลานานกว่าการขยายการดำเนินงานเข้าไปในเกาหลีหรือประเทศไทย หรือระยะเวลาเท่ากันการเข้าไปดำเนินงานในประเทศหนึ่งจะมีผลต่อระดับการขยายตัวสูงกว่าอีกประเทศหนึ่ง ธุกิจที่ต้องมีอัตราการเจริญเติบโตสูงในเวลาที่รวดเร็วจึงต้องเลือกประเทศที่จะขยายตัวออกไปด้วยความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศต้องใช้เวลาและทรัพยากร ตลอดจนความรู้ ความชำนาญ ในการทำธุรกิจในพื้นที่ ๆ มีความแตกต่างในองค์ประกอบหลายๆประการ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม พื้นฐานความต้องการของประชาชน องค์กรทางสังคม ประการสำคัญที่สุดได้แก่บุคลากรภายในของธุรกิจนั้นมีศักยภาพเพียงพอหรือไม่ในการนำองค์กรออกดำเนินงานในต่างประเทศศักยภาพที่กล่าวถึงได้แก่วิสัยทัศน์ที่ทันกับโลกของความเป็นจริง ความรู้ทางด้านการบริหารจัดการที่ทันสมัย การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและศักยภาพในการต่อสู้กับคู่แข่งขันที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศนั้น ต้องเผชิญกับปัญหาในรูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนและมีผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อัตราส่วนถือครองตลาดสูงยิ่งต้องระวังมาก ทำให้ธุรกิจจำนวนมากหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินงานใน ต่างประเทศ สำหรับปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจในการเข้าสู่ตลาดโลกมีดังนี้
1. การขยายส่วนแบ่งตลาด (Market Share)
การขยายกิจการไปต่างประเทศ ทำให้กิจการมีปริมาณขายมากขึ้น ทำให้ได้รายได้มากกว่าที่จะจำกัดอยู่เฉพาะผู้บริโภคภายในประเทศเท่านั้น เช่นถ้ากระทิงแดงของไทยจำกัดดลาดเฉพาะประเทศไทย ก็จะสูญโอกาสที่จะมีรายได้จากผู้บริโภคในต่างประเทศ
2. ความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนต่อหน่วย (Economies Of Scale)
เมื่อสามารถขยายตลาดในต่างประเทศได้แล้ว ทำให้ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ต่อหน่วยสินค้าลดลง เพราะปริมาณขายที่เพิ่มแต่ต้นทุนยังคงที่ การที่ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับกิจการเป็นอย่างมาก เพราะทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งขัน
3. ผลกำไรที่เพิ่มมากขึ้น (Profit Advantage)
เมื่อรายได้เพิ่ม และต้นทุนต่อหน่วยลดลง หมายความว่ากิจการจะได้ผลกำไรมากขึ้น หากกิจการสำรองกำไรไว้ ทำให้มีฐานะการเงินที่มั่นคงนำมาสู่ความได้เปรียบหลายประการ ไม่ว่จะเป็นเงินทุนเพื่อการขยายธุรกิจ หรือเงินทุนเพื่อการพัฒนาสิ่งต่าง
4. ความได้เปรียบทางภาษี (Tax Advantage)
การขยายการดำเนินงานไปทั่วโลก ทำให้กิจการสามารถบริหารการเงินและผลกำไรในหลายประเทศ นำมาซึ่งความได้เปรียบทางด้านภาษี
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้อาจเป็นตัวแปรที่เราไม่ได้คาดคิดหรือมองข้ามไปทั้งนี้ควรจะคำนึงถึงปัจจัยในหลาย ๆ ประการให้ละเอียดถี่ถ้วนเพื่อประโยชน์สูงสุดของกิจการ