SMEsAcademy-FB
รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

หลักคิด : ควรซื้อรถ ในนามบริษัท มากกว่าซื้อในนามเจ้าของ

27 ธันวาคม 2566
หลักคิด : ควรซื้อรถ ในนามบริษัท มากกว่าซื้อในนามเจ้าของ

หลักคิด : ควรซื้อรถ ในนามบริษัท มากกว่าซื้อในนามเจ้าของ


1. ประเด็นแรก คือ ใช้เงินที่ไหนซื้อ ใช้เงินที่ไหนผ่อน ถ้าเป็นนำเงินจากกิจการ นั่นหมายความว่า ก็ควรซื้อในนามบริษัท/ห้างหุ้นส่วน รถใช้เงินบริษัทจ่าย ก็ควรเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท

 

2. บริษัทเพิ่งเปิด รายได้น้อย แต่เจ้าของจะซื้อใช้อยู่แล้วจริงๆ ก็ต้องเป็นเงินส่วนตัวเจ้าของ ไม่ว่าจะซื้อด้วยเงินสด ดาวน์ หรือ ผ่อน ถ้าแบบนี้ จริงๆแล้วเลือกได้ 2 วิธี คือ ถ้ารถคันนี้สามารถใช้เพื่อกิจการได้ ก็ควรซื้อในนามบริษัท เจ้าของโอนเงินให้บริษัท แล้วไปซื้อ ถ้าต้องผ่อน ก็ต้องให้บริษัทกู้ แต่บางครั้งบริษัทเพิ่งเปิด ฐานะการเงินบริษัทไม่ได้ ถ้าเป็นเคสนี้ เจ้าของก็ต้องซื้อในนามบุคคล เพื่อสะดวกกว่า แล้วนำมาให้บริษัทเช่า

 

3. ค่าใช้จ่ายในส่วนของรถ บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ ขอตอบว่า "ได้" ถ้ารถอยู่ในครอบครองของบริษัท หากซื้อในนามบริษัทก็จะจบ ใช้ได้ถ้ามีค่าใช้จ่าย แต่ถ้ารถอยู่ในชื่อเจ้าของ ก็ต้องทำการให้เช่า เจ้าของมีรายได้ ต้องเสียภาษี บริษัทจ่ายค่าเช่า ทำสัญญา และเมื่อทำสัญญาแล้ว กรรมสิทธิ์การใช้ก็จะเป็นของบริษัท ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้รถ สามารถเบิกได้

 

4. เบิกได้หมดเลยหรือไม่ ค่าน้ำมัน ทางด่วน ขอตอบว่า "เบิกได้ไม่หมด" เพราะต้องคำนึงบนหลักคิดที่ว่า ตามจริง เพื่อกิจการเท่านั้น ไม่มีความเป็นส่วนตัวปนอยู่ ใช่หรือไม่ เพราะต้องระวังว่า บางครั้งเราขับรถไปกินข้าว ไปเที่ยว จะมาเบิกบริษัทไม่ได้ ดังนั้น กิจการต้องมีนโยบายในการเบิกค่าใช้จ่าย ในกลุ่มของพลังงาน และ สิ้นเปลืองเช่น ล้างรถ ทางด่วน ต่างๆ แต่ถ้าซ่อมรถ เปลี่ยนยาง ประกัน พ.ร.บ เบิกได้และบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้อยู่แล้ว ขอแค่กรรมสิทธิ์เป็นของบริษัท

 

5. ต้องรู้ว่า ค่าใช้จ่าย กับ ภาษีซื้อ คนละรายการ หากรถเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ รายจ่ายที่จ่ายจริง เพื่อกิจการจริงๆ บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้ 100% แต่หลายรายการที่ภาษีซื้อ ใช้ไม่ได้ ...... ไม่ต้องคิดมาก ...... ใช้ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร และทำอะไรไม่ได้ เพราะกฎหมายห้าม ต้องยอมรับ แค่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้ ดึงเงินบริษัทมาจ่ายได้ก็ดีแล้ว

 

6. ประเภทรถ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ รถแยกเป็นกลุ่มที่

 

6.1 ไม่มีข้อจำกัดเลย ไม่ว่าจะค่าใช้จ่าย หรือ ภาษีซื้อ ใช้ได้หมด คือรถที่เป็นกลุ่มเพื่อการพาณิชย์ เช่น รถที่มีที่นั่งเกิน 10 ที่นั่ง เช่น รถตู้เพื่อขนส่งผู้โดยสาร รถกระบะ 6 ล้อขึ้นไป เพื่อขนส่งของ รถขุด รถยก เพื่องานก่อสร้างและอุตสาหกรรม พวกนี้ไม่มีข้อจำกัดเลย จะซื้อกี่บาท ใช้ทางภาษีได้หมด

 

6.2  อีกประเภทคือ รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 10 ที่นั่ง รถเก๋ง รถตู้ VIP ต่างๆ รถกลุ่มนี้สรรพากรห้ามค่ะ......ห้ามทุกอย่าง...... ห้ามไปหมด...... ถ้าซื้อเกิน 1 ล้านบาท ก็ตัดค่าเสื่อมทางภาษีได้แค่ 1 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากรถกลุ่มนี้ไม่สามารถใช้ภาษีซื้อได้เลย

 

7. ซื้อรถมีภาษีซื้อ รถประเภทจากข้อ 6.2 ใช้ภาษีไม่ได้ แต่ถ้าขาย มีภาษีขาย 7% ที่ต้องนำส่ง.....ใช่ค่ะเป็นเรื่องปกติ... ถ้าเจ้าของจะขายก็ต้องตั้งราคา แบบบวกภาษีไปเผื่อไว้แล้ว



#ครูอัส

#บัญชีอย่างง่าย


คำค้นหา :
บทความที่คล้ายกัน