SMEsAcademy-FB
รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

กรณีศึกษา กระเป๋าผ้า นารายา ฝ่าวิกฤตโควิด

19 สิงหาคม 2564
กรณีศึกษา กระเป๋าผ้า นารายา ฝ่าวิกฤตโควิด

กรณีศึกษา กระเป๋าผ้า นารายา ฝ่าวิกฤตโควิด

"นารายา" ฝ่าวิกฤตโควิดหลังปรับกลยุทธ์จนอยู่ในจุดที่พอใจ หลังจากสถานการณ์ Lock down ทั่วประเทศ ห้างปิด ลูกค้าต่างชาติหายไปหลังจากมีการปิดน่านฟ้า  แต่คุณวาสนา ลาทูรัส ก็สามารถพลิกวิกฤตครั้งนี้ให้กลับมาได้จึงทำให้ กรณีศึกษากระเป๋าผ้า นารายา เป็นกรณีที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจที่กำลังเผชิญปัญหานี้เช่นกัน โดยทางคุณวาสนา เจ้าของแบรนด์ได้ทำการลดจำนวนพนักงาน ปิดโรงงานไป 2 แห่งและขายคลังสินค้าที่ไม่สามารถรองรับแผน 5  ปีได้จนอยู่ในจุดที่พอใจว่าจะสามารถบริหารจัดการได้จากพนักงานจำนวนหลักพันคนลดเหลือ 400 คนพร้อมช่างฝีมือที่พร้อมผลิตสินค้าคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

 


เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสด้วยหน้ากากผ้า กรณีศึกษากระเป๋าผ้า นารายา เปลี่ยนช่วงวิกฤตด้วยการเปิดน่านน้ำใหม่จากการผลิตหน้ากากผ้าขายในประเทศในช่วงเดือนเมษา 2563  กว่า 800,000 ชิ้น ถือเป็นรายได้สำคัญในช่วงเวลานี้แม้จะไม่มากมายนักแต่ก็ต่อลมหายใจให้ไปต่อได้ และได้ทำการเปิดรับผลิตสินค้าอื่น ๆ ได้แก่ กระเป๋าหนัง เสื้อผ้าด้วยการเปิดใช้งานไลน์เพื่อรับจ้างผลิต (OEM) จากที่ไม่เคยทำมาก่อนจนมีโปรเจคกับลูกค้ากว่า 80 โปรเจคด้วยกัน นอกจากนี้จากการให้สัมภาษณ์ของคุณพศินผู้เป็นลูกชายของคุณวาสนา ได้ให้สัมภาษณ์ว่าหน้ากากผ้านารายาได้ถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น แคนนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ฯลฯ จากการระบาดอย่างหนักในหลายประเทศทำให้ยังมีออเดอร์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

 

ลุกขึ้นยืนได้อีกครั้งด้วยอีคอมเมิร์ซและการจับมือกันกับพาร์ทเนอร์ แบรนด์นารายาเข้าสู่ตลาดออนไลน์ในหลายแพลตฟอร์มซึ่งคุณพศินได้เข้ามาเตรียมการไว้หลายปีแล้ว มีการสร้างเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นชื่อว่า “NaRaYa” พร้อมสำหรับการตลาดออนไลน์ มีหลากหลายช่องทางด้วยกันทั้ง Shopee  Lazada และ JD Central การขายสินค้าบนโลกออนไลน์มีการเติบโตมากขึ้นและไปได้ดีมากเลยทีเดียวซึ่ง กรณีศึกษากระเป๋าผ้า นารายา เกิดจากการเตรียมการไว้เป็นอย่างดีเมื่อ 5 ปีที่แล้วพอเกิดเหตุการณ์วิกฤตก็ทำให้สามารถปรับตัวไว้เร็ว มีการร่วมมือกับหลายพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่ช่วยผลักดันและกระจายสินค้าได้แก่ เซเว่นอีเลฟเว่น ร้านวัตสัน ที่มีการวางขายถุงผ้าในร้านและตู้กด Vending Plus นับว่าเป็นการปรับตัวอย่างรวดเร็วรวมถึงยังมีการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับแบรนด์ด้วยการให้สินค้านั้นเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์และเป็นของฝากที่คนต้องมีให้แก่กัน


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกรณีศึกษากระเป๋าผ้า นารายา

1. วิกฤตมาพร้อมกับโอกาสเพียงรู้จักที่จะเรียนรู้ ปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์และใช้เครื่องมือที่ถูกต้องก็สามารถกลับมาลุกได้อีกครั้งอย่างรวดเร็ว

 

2. แบรนด์นารายา ทำให้รู้ว่าบางครั้งก็ควรตัดบางอย่างเพื่อความอยู่รอดและเริ่มต้นใหม่ให้เร็วที่สุด

 

3. อีคอมเมิร์ซและพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจคือสิ่งสำคัญในการผลักดันสินค้าให้เติบโตอย่างรวดเร็ว

 


กรณีศึกษากระเป๋าผ้า นารายา คือการปรับตัวอย่างรวดเร็วแล้วหันมาพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสลุกขึ้นมาอีกครั้งอย่างสวยงามด้วยการตลาดออนไลน์ที่เป็นเครื่องมือของคนยุคนี้รวมถึงการใช้คอนเนคชั่นอย่างชาญฉลาด


 


บทความที่คล้ายกัน